คำศัพท์เกี่ยวกับสภาพอากาศ [Weather Vocabulary]
เกณฑ์ในคำพยากรณ์และรายงานอากาศ
เกณฑ์อากาศร้อน ใช้อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้ในเฉพาะในฤดูร้อน
อากาศร้อน (Hot) อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูร้อน
อากาศร้อนจัด (Very Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เกณฑ์อากาศหนาว ใช้อุณหภูมิต่ำที่สุดประจำวันและใช้เฉพาะฤดูหนาว
อากาศเย็น (Cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 18.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
อากาศค่อนข้างหนาว (Moderately Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส
อากาศหนาว (Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
อากาศหนาวจัด (Very Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียส
เกณฑ์การกระจายของฝน
-
ฝนบางพื้นที่ (Isolated) หมายถึง มีฝนตกน้อยกว่า 20 % ของพื้นที่
-
ฝนกระจายเป็นแห่ง (Widely Scattered) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 20 % ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40 % ของพื้นที่
-
ฝนกระจาย (Scattered) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 40 % ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60 % ของพื้นที่
-
ฝนเกือบทั่วไป (Almost Widespread) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 60 % ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่
-
ฝนทั่วไป (Widespread) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 80 % ของพื้นที่ขึ้นไป
เกณฑ์ปริมาณน้ำฝน
-
ฝนเล็กน้อย (Light Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตร
-
ฝนปานกลาง (Moderate Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร
-
ฝนหนัก (Heavy Rain ) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตร
-
ฝนตกหนักมาก (Very Heavy Rian) ฝนตกมีปริมารตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป
เกณฑ์จำนวนเมฆในท้องฟ้า โดยแบ่งท้องฟ้าเป็น 10 ส่วน
-
ท้องฟ้าแจ่มใส (Fine) ท้องฟ้าไม่มีเมฆหรือมีแต่น้อยกว่า 1 ส่วนของท้องฟ้า
-
ท้องฟ้าโปร่ง (Fair) ท้องฟ้ามีเมฆตั้งแต่ 1 ส่วน ถึง 3 ส่วนของท้องฟ้า
-
ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน (Partly Cloudy Sky ) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 3 ส่วนถึง 5 ส่วนของท้องฟ้า
-
ท้องฟ้ามีเมฆเป็นส่วนมาก (Cloudy Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 5 ส่วนถึง 8 ส่วนของท้องฟ้า
-
ท้องฟ้ามีเมฆมาก (Very Cloudy Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 8 ส่วนถึง 9 ส่วนของท้องฟ้า
-
ท้องฟ้ามีเมฆเต็มท้องฟ้า (Overcast Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 9 ส่วน ถึง 10 ส่วนของท้องฟ้า
เกณฑ์ความเร็วลมผิวพื้น ความเร็วลมที่ระดับสูงมาตรฐาน 10 เมตรเหนือพื้นดินในบริเวณที่โล่งแจ้ง
ขนาดของลม |
สัญลักษณ์ที่แสดงบนบก |
Knots |
Km./hr |
|
ลมสงบ | CALM | ลมเงียบ ควันลอยขึ้นตรงๆ |
น้อยกว่า 1 |
น้อยกว่า 1 |
ลมเบา | LIGHT AIR | ควันลอยตามลม แต่ศรลมไม่ทันไปตามทิศลม |
1-3 |
1-5 |
ลมอ่อน | LIGHT BREEZE | รู้สึกลมพัดที่ใบหน้า ใบไม้แกว่งไกว ศรลมหันไปตามทิศลม |
4-6 |
6-11 |
ลมโชย | GENTLEBREEZE | ใบไม้และกิ่งไม้เล็ก ๆ กระดิก ธงปลิว |
7-10 |
12-19 |
ลมปานกลาง | MODERATEBREEZE | มีฝุ่นตลบ กระดาษปลิว กิ่งไม้เล็กขยับเขยื้อน |
11-16 |
20-28 |
ลมแรง | FRESHBREEZE | ต้นไม้เล็กแกว่งไกวไปมา มีระลอกน้ำ |
17-21 |
29-38 |
ลมจัด | STRONGBREEZE | กิ่งไม้ใหญ่ขยับเขยื้อน ได้ยินเสียงหวีดหวิว ใช้ร่มลำบาก |
22-27 |
39-49 |
พายุเกล อ่อน | GALE | ต้นไม้ใหญ่ทั้งต้นแกว่งไกว เดินทวนลมไม่สะดวก |
28-33 |
50-61 |
พายุเกล แรง | STRONGGALE | อาคารที่ไม่มั่นคงหักพัง หลังคาปลิว |
41-47 |
75-88 |
พายุ | STORM | ต้นไม้ถอนรากล้ม เกิดความเสียหายมาก (ไม่ปรากฏบ่อยนัก) |
48-55 |
89-102 |
พายุใหญ่ | VIOLENTSTORM |
เกิดความเสียหายทั่วไป (ไม่ค่อยปรากฏ) |
56-63 |
103-117 |
พายุไต้ฝุ่นหรือ เฮอร์ริเคน | TYPHOON or HURRICANE |
มากกว่า 63 |
มากกว่า 117 |
เกณฑ์สถานะของทะเล
-
ทะเลสงบ (Calm) ความสูงของคลื่น 0.0 เมตร ถึง 0.10 เมตร
-
ทะเลเรียบ (Smooth) ความสูงของคลื่น 0.10 เมตร ถึง 0.50 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย (Slight) ความสูงของคลื่น 0.50 เมตร ถึง 1.25 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นปานกลาง (Moderate) ความสูงของคลื่น 1.25 ถึง 2.50 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นจัด (Rough) ความสูงของคลื่น 2.50 เมตร ถึง 4.00 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นจัดมาก (Very Rough) ความสูงของคลื่น 4.00 เมตร ถึง 6.00 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นใหญ่ (High) ความสูงของคลื่น 6.00 เมตร ถึง 9.00 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นใหญ่มาก (Very High) ความสูงของคลื่น 9.00 เมตร ถึง 14.00 เมตร
-
ทะเลมีคลื่นใหญ่และจัดมาก (ทะเลบ้า – Phenomenal) ความสูงของคลื่นมากกว่า 14 เมตร
บริเวณความกดอากาศสูง (High Pressure Area หรือ High) หรือแอนติไซโคลน (Anitcyclone)
บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน คือ บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้น แสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลมหรือเป็นวงรีรูปไข่ล้อมรอบ บริเวณที่มีความกดอากาศสูง นั่นคือบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงขึ้นจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนนี้จะมีกระแสลมพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนเช่นนี้ เรียกว่า Anitcyclonic Circulation
โดยทั่วไปในบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนลมอ่อนและลมมักสงบในบริเวณใกล้ศูนย์กลาง มีเมฆเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีเมฆมากกับฝนได้ตามขอบของบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโ๕ลนที่อยู่ใกล้กับแนวปะทะอากาศ
ในซีกโลกเหนือทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโ๕ลน อากาศจะเย็นที่ผิวพื้นและเป็นลมฝ่ายเหนือพัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Cold High ส่วนทางด้านตะวันตก อากาศจะค่อนข้างร้อนและเป็นลมฝายใต้พัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Warm High บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิด Cold High แผ่ลงมาเมื่อไรอากาศจะหนาวเย็น ส่วน Warm High อากาศจะร้อนเนื่องจากลมพัดมาจากทางใต้ แม้ว่าจะมีความชื้นสูงแต่ไม่มีฝนตก จะทำให้อากาศร้อนอบอ้าว บางครั้งเรียกว่า คลื่นความร้อน (Heat Wave)
บริเวณความกดอากาศต่ำ ( Low Pressure Area หรือ Low )
บริเวณความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆในแผนที่
อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลมล้อมรอบบริเวณทีทมีความกดอากาศต่ำ นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำจะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำลงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศต่ำนี้จะมีกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทาง ตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศต่ำเช่นนี้ เรียกว่า Cyclonic Circulation ตามปกติในบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วยบริเวณความกดอากาศต่ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด
1.Cold Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะต่ำกว่าภายนอก และเกิดในแถบละติจูดสูงๆ ที่อากาศเย็น เมื่อเกิดขึ้นแล้วการหมุนเวียนจะต่อเนื่องกัน ความชันของความกดจะเพิ่มมากขึ้นตามความสูงซึ่งสัมพันธ์กับกระแสลม นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Cold Core จะมีลมพัดแรงขึ้นตามความสูง และมักมีแนวปะทะอากาศขึ้นร่วมด้วยเสมอ
2.Warm Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะร้อนกว่าภายนอก การหมุนเวียนจะเหมือนกับชนิด Cold Core และมีเฉพาะในเขตร้อนเท่านั้น เนื่องจากแกนกลางร้อน ฉะนั้นอากาศที่เย็นกว่าจะพัดเข้าแทนที่จมเข้าหาศูนย์กลาง ทำให้เกิดกระแสลมพัดเวียนเป็นก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง ขณะเดียวกันอากาศตรงกลางจะลอยตัวขึ้น ความชันของความกดตามระดับความสูงจะลดลง นั่นคือ ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางรอบบริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Warm Core ความเร็วลมจะลดลงตามความสูง พายุจะรุนแรงที่สุดที่ผิวพื้นเท่านั้น สูงขึ้นไปลมกำลังอ่อนลง
บริเวณความกดอากาศต่ำทั้ง 2 ชนิด เกิดฝนตกหนักเท่าๆ กัน แต่ความเร็วลมจะต่างกัน
ร่องความกดอากาศต่ำ (Intertropical Convergence Zone – ITCZ ) หรือ ร่องมรสุม (Monsoon Trough)
ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมนี้ มีชี่อเรียกในภาษาอังกฤษหลายชื่อด้วยกัน เช่น Intertropical Convergence Zone , Equatorial Trough หรือ Monsoon Trough เป็นต้น เป็นโซนหรือแนวแคบๆ ที่ลมเทรดหรือลมค้าในเขตร้อนของทั้ง 2 ซีกโลกมาบรรจบกัน คือลมค้าตะวันออกเฉียงเหนือของซีกโลกเหนือกับลมค้าตะวันออกเฉียงใต้ของซีกโลกใต้
ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสม มีลักษณะเป็นแนวพาดขวางในทิศตะวันออก-ตะวันตก ในร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ มีกระแสอากาศไหลขึ้น-ลงสลับกัน ร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมจะอยู่ในเขตร้อนใกล้ๆ เส้นศูนย์สูตร และจะมีการเลื่อนข้น –ลงตามแนวโคจรของดวงอาทิตย์โดยจะล้าหลังประมาณ 1-2 เดือน ความกว้างของร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมประมาณ 6-8 องศาละติจูด เป็นบริเวณที่มีเมฆมากและฝนตกอย่างหนาแน่น ฉะนั้น เมื่อร่องนี้ประจำอยู่ที่ใดหรือผ่านที่ใดก็จะทำให้ที่นั้นฝนตกอย่างหนาแน่นได้
พายุฟ้าคะนอง (Thunderstorm)
พายุฟ้าคะนอง บางครั้งเรียกว่า พายุไฟฟ้า (Electrical Storm) โดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่นเกิดจกเมฆคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus-Cb) มีฟ้าแลบ (Lightning) กับฟ้าร้อง (Thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนี้มักจะมีลมกระโชกแรงและฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งยังมีลูกเห็บตกลงมาด้วย พายุฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง
พายุฟ้าคะนองเป็นผลเนื่องมาจากในเขตร้อนอากาศมีความชื้นมากและมีอุณหภูมิสูงทำให้อากาศไม่มีเสถียรภาพ (Instability) หรือบรรยากาศมีอาการไม่ทรงตัว เกิดการผสมคลุกเคล้าจากล่างขึ้นข้างบนและจาก ข้างบนลงข้างล่าง ในชั้นแรกอากาศหรือบรรยากาศเกิดการไหลขึ้นอย่างรุนแรง (Strong Convective Updraft) และในขั้นต่อมาซึ่งเป็นขั้นการสลายตัว (Dissipating Stage) จะมีกระแสอากาศไหลลงอย่างรุนแรง (Strong Downdraft ) ภายในคอลัมน์ (ช่วง) ของฝนพายุฟ้าคะนองนี้บ่อยครั้งที่ก่อตัวได้สูงถึง 40,000 – 50,000 ฟุต ในบริเวณละติจูดกลางและสูงมากกว่านี้ในเขตร้อน บรรยากาศตอนล่างของชั้นสตราโตสเฟียร์ที่มีเสถียรภาพดีมาก (Great Stability) เท่านั้นที่สามารถยับยั้งการก่อตัวของพายุฟ้าคะนอง
มรสุม (Monsoon)
มรสุม เป็นการหมุนเวียนส่วนหนึ่งของลมที่พัดตามฤดูกาล คือลมประจำฤดู เป็นลมแน่ทิศและสม่ำเสมอ คำว่า “มรสุม” หรือ Mosoon มาจากคำ Mausim ในภาษาอาหรับ แปลว่า “ฤดูกาล” (Season) ในครั้งแรกได้นำคำนี้มาใช้เรียกลมที่เกิดในทะเลอาหรับก่อน ในทิศตะวันออกเฉลียงเหนือเข้าสู่ทะเลอาหรับเป็นระยะเวลา 6 เดือน แล้วเลี่ยนกลับไปในทิศทางตรงข้าม คือ จากทะเลอาหรับเข้าสู่ภาคพื้นทวีปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะเวลา 6 เดือน เช่นกัน ต่อมาได้นำคำนี้ไปเรียกลมที่มีลักษณะอย่างเดียวกันแต่เกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลกด้วย
มรสุม เกิดจากสาเหตุใหญ่ๆ คือเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินและพื้นน้ำทำนองเดียวกับลมบกลมทะเล ในฤดูหนาวอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจึงมีอุณหภูมิสูงกว่าและลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าไหลเข้าไปแทนที่ ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป พอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร เป็นเหตุให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม
มรสุมหรือลมประจำฤดูที่มีกำลังแรงจัดที่สุด ได้แก่มรสุมที่เกิดในบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย อันเป็นที่ตั้งของประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว ไทย มาเลเซีย พม่า บังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุมลมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มต้น พัดเข้าสู่ภาคกลางของประเทศประมาณกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นระยะของฤดูฝน ต่อจากนั้นลมจะแปรปรวนและเริ่มเปลี่ยนทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณปลายเดือน ตุลาคมไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นระยะเวลาของฤดูหนาว
พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone)
เป็นคำทั่วๆ ไปที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือพายุไซโคลน (Cyclone) ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ บริเวณที่พายุหมุนปกคลุมแคบกว่าบริเวณพายุหมุนในเขตอบอุ่น พายุดังกล่าวเมื่ออยู่ในสภาวะที่เจริญเติบโตเต็มที่จะเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาพายุที่เกิดขึ้นในโลก มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ใหญ่นักประมาณตั้งแต่ 100 กิโลเมตรขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก ระบบการหมุนเวียนของลมเป็นไปโดยพัดเวียนเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา (Cyclonically) ในซีกโลกเหนือ ส่วนทางซีกโลกใต้พัดเวียนตามเข็มนาฬิกาเข้าสู่ศูนย์กลาง ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด ลมที่ใกล้ศูนย์กลางมีความเร็วตั้งแต่ 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ( 64 นอต) ขึ้นไป บางครั้งมีความเร็วลมเกินกว่า 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 นอต) ความกดอากาศต่ำสุดที่บริเวณศูนย์กลางพายุโดยทั่วไปต่ำกว่า 1,00 มิลลิบาร์ มีความชันของความกดอากาศ (Pressure Gradient ) และความเร็วลมแรงกว่าพายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical Storm) มีลักษณะอากาศร้ายติดตามมาด้วย เช่นฝนตกหนักมากกว่าฝนปกติธรรมดาที่เกิดในเขตร้อนมาก บางครั้งมีพายุฟ้าคะนองเกิดขึ้นด้วย ฝนและเมฆมีลักษณะไม่เหมือนกันนักในพายุแต่ละลูกส่วนใหญ่จะเห็นเป็นแนวโค้งหมุนเข้าหาศูนย์กลางหรือตาพายุ มีเมฆประเภทคิวมูลัส (Cumulus) และคิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ที่มีฝนอยู่ด้วย เกิดคลื่นสูงใหญ่ในทะเลและน้ำขึ้นสูง
ตรงบริเวณศูนย์กลางพายุมีลักษณะคล้ายกับมีตาเป็นวงกลมอยู่มองเห็นได้ชัดเจนจากภาพถ่ายจากดาวเทียมเรียกว่า “ตาพายุ” (Eye) เป็นบริเวณเล็กๆ เส้นผ่าศูนย์กลางของตาพายุเพียงเป็นสิบๆ กิโลเมตรเท่านั้น (ประมาณ 15-60 กิโลเมตร) ภายในตาพายุนี้เป็นบริเวณที่มีอากาศแจ่มใส มีเมฆบ้างเล็กน้อยเท่านั้นและมีลมพัดอ่อน
พายุหมุนเขตร้อนนี้เกิดขึ้นหลายแห่งโลก โดยทั่วไปเกิดทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรในเขตร้อนบริเวรใกล้ศูนย์สูตร (ยกเว้นมหาสมุทรแอตแลนติกใต้และทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกใต้) เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ทำความเสียหายให้แก่ทวีปต่างๆ ทางด้านตะวันออก พายุหมุนเขตร้อนนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กันแล้วแต่ละท้องถิ่นที่เกิด เช่น
ถ้าเกิดในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิกและในทะเลจีนใต้ เรียกชื่อว่า “พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) ”
ถ้าเกิดในบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลคาริบเบียนและในอ่าวเม็กซิโก เรียกชื่อว่า “พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane) ”
ถ้าเกิดในอ่าวเบงกอลและทะเลอาราเบียนในมหาสมุทรอินเดีย เรียกชื่อว่า “พายุไซโคลน ( Cyclone)
และถ้าเกิดในทวีปออสเตรเลีย เรียกว่า “วิลลี่-วิลลี่ (Willy-willy)”
หรือมีชื่อเรียกไปต่างๆกันถ้าเกิดในบริเวณอื่น
ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ ได้จัดแบ่งชั้นของพายุหมุนเขตร้อนตามความรุนแรงของพายุได้เป็น 3 ชั้นดังนี้
-
ดีเปรสชันเขตร้อน (Tropical Depression) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางน้อยกว่า 34 นอต( 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
-
พายุโซนร้อน (Tropical Storm) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ระหว่าง 34 ถึง 64 นอต(63 ถึง 117 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
-
พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน (Typhoon or Hurricane) มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 65 นอต หรือมากกว่า หรือ ตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป
เครดิต : http://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/om/om8.htm
—————————————————————————-
ตัวอย่าง Weather Vocabulary จาก YOUTUBE
YouTube responded to TubePress with an HTTP 410 - No longer available
—————————————————————————-