พจน์ของคำนาม (The Number of Nouns)

พจน์ของคำนาม (The Number of Nouns)

พจน์ของคำนาม (The Number of Nouns)

ในภาษาไทยไม่ว่าจำนวนของคำนามจะเป็นหนึ่งอันหรือมากกว่าหนึ่งอัน  รูปของคำนามนั้นก็เหมือนเดิมไม่เปลี่ยน เช่นถ้าบอกว่า  คนหนึ่งคน  กับ  คนสามคน  คำว่า “คน”  ก็ยังมีรูปเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ในภาษาอังกฤษเรื่องเยอะกว่านั้น!!  เพราะคำนามจะมีการเปลี่ยนรูปหรือเติม s/es เข้าไปเมื่อมันมีจำนวนที่มากกว่าหนึ่ง   พจน์ของคำนามแบ่งออกเป็น 2 พจน์ ดังนี้

1.  เอกพจน์   (Singular)   หมายถึง  “หนึ่ง”  ดังนั้นนามเอกพจน์จึงหมายถึงนามที่มีแค่หนึ่งอัน  หนึ่งอย่าง  หนึ่งคน

2.  พหูพจน์   (Plural)  หมายถึง  “มากกว่าหนึ่ง”  ดังนั้นนามพหูพจน์จึงหมายถึงนามที่มีมากกว่าหนึ่งอัน  โดยนามนับได้เท่านั้นที่เป็นพหูพจน์ได้  ส่วนนามนับไม่ได้จะไม่มีรูปพหูพจน์

อย่างที่บอกไปแล้วว่า  ถ้านามนั้นเป็นพหูพจน์จะต้องเติม s/es หรือมีการเปลี่ยนรูป  ดังนั้นจึงมีกฎการเติม s/es ดังนี้ค่ะ

1.  ถ้าคำนามนั้นลงท้ายด้วย  s, ss,  sh, ch, x, o, z ให้เติม es  เช่น

class            classes
box            boxes
bush            bushes
mango        mangoes

**  ข้อยกเว้นสำหรับคำที่ลงท้ายด้วย  o  ถ้าหน้า o เป็นสระให้เติม s ได้เลย  เช่น

bamboo        bamboos
radio            radios

2.  ถ้านามนั้นลงท้ายด้วย f หรือ fe  ให้เปลี่ยน  f หรือ fe  เป็น v แล้วเติม  es  เช่น

wife            wives
knife            knives
wolf            wolves

3.  ถ้านามนั้นลงท้ายด้วย  y  ให้เปลี่ยน y เป็น i  แล้วเติม es  เช่น

baby            babies
fly            flies
lady            ladies

**  มีข้อยกเว้นอีกเช่นเคย!! ถ้าหน้า y เป็นสระ  ให้เติม s ได้เลย  เช่น

boy            boys
key            keys

4.  คำนามบางคำ เมื่อเป็นรูปพหูพจน์จะมีการเปลี่ยนรูป  เช่น

man            men
woman        women
mouse            mice
foot            feet
tooth            teeth

**  แต่คำบางคำ  รูปเอกพจน์กับรูปพหูพจน์เหมือนกันเลย คือไม่เติมอะไรใดๆทั้งสิ้น  เช่น  fish, deer, sheep  เป็นต้น

**  นอกจากนี้คำที่มาจากภาษาอื่น  เวลาเป็นพหูพจน์ก็มีรูปร่างหน้าตาไม่เหมือนเดิมอีกเช่นกัน  เช่น

nebula            nebulae
analysis        analyses
crisis            crises
thesis            theses
phenomenon        phenomena
criterion        criteria

แค่เรื่องพจน์อย่างเดียวก็เยอะขนาดนี้แล้ว  แต่เชื่อเถอะค่ะว่าถ้าได้ใช้บ่อยๆ  มันจะซึมเข้าสู่สมองเราเองโดยอัตโนมัติ  ลองฝึกบ่อยๆค่ะ