การแสดงการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นภาษาอังกฤษ

I agree เห็นด้วยในภาษาอังกฤษ

การแสดงการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยเป็นภาษาอังกฤษ

เวลาพูดกับชาวต่างชาติก็อาจจะต้องมีการแสดงความคิดเห็นของเราสอดแทรกเข้าไประหว่างที่สนทนา คือเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เขาพูด มาดูสำนวนที่ใช้พูดแสดงการเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกันค่ะ

การแสดงการเห็นด้วย

เวลาที่ใครพูดอะไรกับเราแล้วเราเห็นด้วย ก็จะใช้สำนวนดังต่อไปนี้ค่ะ

ถ้าแบบเป็นทางการก็จะใช้ว่า

  • I agree.     ฉันเห็นด้วย
  • I concur.   ฉันเห็นด้วย
  • That’s just what I was thinking.  นั่นเป็นสิ่งที่ผมกำลังคิดเลย
  • That’s exactly my opinion.  นั่นเป็นความเห็นของผมเลย

หรือถ้าเห็นด้วยแบบจริงจังหรือเห็นด้วยสุดๆ ก็จะเพิ่มคำขยายเข้ามาเช่น

  • I totally agree.   เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
  • I definitely agree.    เห็นด้วยอย่างยิ่ง
  • I absolutely agree.  เห็นด้วยอย่างยิ่ง
  • I couldn’t agree more.   เห็นด้วยอย่างที่สุด

แต่ถ้าเป็นการเห็นด้วยแบบกลางๆ ก็มักจะพูดว่า

  • That’s quite right.   ก็น่าจะใช่
  • I quite agree with you.   ฉันค่อนข้างเห็นด้วยกับคุณ

แต่ถ้าพูดเห็นด้วยแบบไม่เป็นทางการ มักจะใช้สำนวนนี้ค่ะ

  • Yeah! / Right!
  • Definitely!
  • Absolutely!
  • Exactly!
  • That’s right.
  • You’re right.
  • You got it!

ทั้งหมดนี้แปลเหมือนๆกันคือแปลว่า ใช่เลย หรือ นั่นแหละใช่เลย ประมาณนี้ค่ะ

ในบางครั้งเราอาจจะเห็นด้วย แต่ก็อาจจะมีบางครั้งที่เราไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่คนอื่นพูด เราก็สามารถบอกเขาไปได้ ไม่ใช่เห็นด้วยทุกอย่างที่เขาพูดมา โดยจะมีสำนวนในการพูด ดังนี้ค่ะ

  • I disagree.   (บอกไปตรงๆเลยว่าไม่เห็นด้วย สั้นๆง่ายๆได้ใจความ)
  • I’m not sure about that.   (เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างอ่อนโยน)
  • That’s good but……
  • I see what you’re saying but…

(เป็นการแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพเช่นกัน คือถนอมน้ำใจคนฟังเล็กน้อย ^^)
หรือหากต้องการจบบทสนทนา เพื่อเปลี่ยนเรื่องแต่ยังต้องการบอกว่าเราไม่เห็นด้วยก็สามารถพูดได้ว่า

  • Let’s agree to disagree.
  • I think we’re going to have to agree to disagree.

สองประโยคล่างนี้แปลว่า ฉันว่าเราคงต้องเห็นด้วยที่จะไม่เห็นด้วย

** ใครถนัดสำนวนแบบไหนนำไปใช้ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเห็นด้วยแบบจริงจังหรือธรรมดา หรือแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างตรงไปตรงมา หรืออ้อมค้อมเล็กน้อยเพื่อรักษาน้ำใจคนฟัง แบบไหนที่คุณถนัดก็นำไปใช้ได้เลยค่ะ